คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับเบาหวาน

Q : เบาหวานคืออะไร  โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ผลิตภัณฑ์ Operation Bim สามารถดูแลปัญหาเบาหวานได้อย่างไร

Q : เบาหวานคืออะไร
A : เบาหวานเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ซึ่งไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือเกิดจากร่างกายไม่สามารถนำฮอร์โมนอินซูลินไปใช้ได้ ฮอร์โมนอินซูลินทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อสร้างเป็นพลังงาน ดังนั้นผู้ที่เป็นเบาหวานจึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

Q : เบาหวานมีกี่ชนิด
A : เบาหวานชนิดที่ 1 มักเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 30 ปี สาเหตุเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินเนื่องจากเซล์ลตับอ่อนถูกทำลาย โดยภูมิคุ้มกันตัวเอง ( auto-immune disease ) เบาหวานชนิดที่ 2 พบบ่อยในผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน ความเครียด ทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้

Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
A : อาการเริ่มต้น คือ อ่อนเพลีย หิวบ่อยแต่น้ำหนักลด กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย แผลหายยาก ชาตามปลายมือหรือปลายเท้า

Q : คนเป็นเบาหวาน น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับใด
ระหว่าง 90-130 มก./ดล. และระดับน้ำตาลค่าเฉลี่ย ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี ( Hba1c ) ควรจะน้อยกว่า 7 % น้ำตาลค่าเฉลี่ยเป็นการวัดค่าน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินชนิดเอ กลายเป็นฮีโมลโกลบิน เอ วัน ซี ยิ่งมีน้ำตาลมากก็จะจับกับเม็ดเลือดแดงมากเท่านั้น เม็ดเลือดแดงมีอายุ 120 วัน ดังนั้นการวัดน้ำตาลค่าเฉลี่ยจะบอกถึงการควบคุมน้ำตาลในระยะ 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา ในคนปกติจะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ย 4 – 6 % ในบางรายผลค่าน้ำตาลในเลือดอาจจะสูงกว่าค่าปกติไม่มากเนื่องจากก่อนวันนัด ตรวจเลือด 2 – 3 วัน จะควบคุมอาหาร ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดวันที่พบแพทย์ไม่สูง แต่ถ้าน้ำตาลค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติมาก หมายความว่าในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมาไม่สามารถควบคุมอาหารได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการตรวจวัดค่าน้ำตาลจึงควรวัดทั้งค่าน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลค่า เฉลี่ย

Q : โรคแทรกซ้อนจากการเป็นเบาหวานและมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติเป็นเวลานาน
หาก น้ำตาลในเลือดสูงอยู่เสมอ เช่น สูงกว่า 200 มก./ดล. จะส่งผลต่อหลอดเลือดโดยน้ำตาลจะแทรกตามผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งต้ว ขาดความยืดหยุ่น ผนังหลอดเลือดหนาขึ้นเปราะและแตกง่าย ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายทุกระบบเช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ไขมันและความดันโลหิตสูง เบาหวานขึ้นตา หลอดเลือดจะเปราะและแตกง่ายทำให้สารต่างๆในเลือดรั่วไหลออกมา บดบังการมองเห็น และเมื่อร่างกายมีการซ่อมแซม สร้างหลอดเลือดใหม่ก็จะไปบดบังจอรับภาพของตา และถ้าเกิดเป็นพังผืดดึงจอตาขาดและหลุดก็ทำให้ตาบอดได้ เบาหวานลงไต ไต ทำหน้าที่ควบคุมของเหลวในร่างกายและกรองของเสียและสารพิษออกจากกระแสเลือด และขับออกทางปัสสาวะ หากมีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ไตต้องทำงานหนักและหลอดเลือดฝอยในไตจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้การขับถ่ายของเสียลดลง มีของเสียในเลือดเกิดภาวะไตวายได้ ดังนั้นการดูแลระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยป้องกันการเสื่อม ของไตได้ แผลเรื้อรังและอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่เลี้ยงปลายประสาท ทำให้ปลายประสาทไม่ได้รับสารอาหารตามปกติ เกิดอาการปลายมือ ปลายเท้าชา ผลที่ตามมาคืออาจเกิดบาดแผลโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลเน่าได้ง่ายเพราะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นอาหารที่ดีของเชื้อแบคทีเรีย อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขาเพื่อป้องกันแผลเน่าลุกลามมากขึ้น

Q : ผลิตภัณฑ์ Operation Bim สามารถดูแลปัญหาเบาหวานได้อย่างไร
ใน ผู้ที่เป็นเบาหวาน เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร TNF – a, ( ทีเอ็นเอฟ-แอลฟา ) INF- y ( อินเตอร์เฟอรอน- แกมมา ) และ IL-17 ( อินเตอร์ลิวคิน-17 ) มากไป จนเกินความสมดุล โดย TNF- a และ FIN-y จะเข้าไปทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนทำให้สร้างอินซูลินได้น้อยลง ( เบาหวานชนิดที่ 1 ) และสารทั้งสองนี้ยังทำให้เกิดสภาวะดื้อต่ออินซูลินของเซลล์ ( เบาหวานชนิดที่ 2 ) ส่วน IL-17 จะทำให้สภาวะการแพ้ภูมิตังเองรุนแรงขึ้นด้วย - คณะนักวิจัย Operation Bim ได้วิจัย และพัฒนาสารเสริมประสิทธิภาพจากสารมังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก จนได้แคปซูลเสริมอาหาร ที่พิสูจน์โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์แล้วว่าสามารถลดการหลั่งสาร TNF-a, TNF-y และ IL-17 ด้วยประสิทธิภาพสูง

Q : ถ้าต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Operation Bim เพื่อดูแลเบาหวานมีข้อแนะนำการใช้อย่างไร
แนะ นำให้ใช้ร่วมกับยาเบาหวาน ( ชนิดรับประทานหรือชนิดฉีด ) ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยรับประทานวันละ 2-4 แคปซูล ก่อนอาหาร ( 1 ชั่วโมง ) เช้าและเย็น

Q : ข้อแนะนำในการปฎิบัติตัวเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นเบาหวานมีอะไรบ้าง
1. การควบคุมอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาลและไขมันสูง เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เช่น ผักดอง กุนเชียง ไส้กรอก มันฝรั่งอบกรอบ ขนมกรุบกรอบ อาหารสำเร็จรูป แช่แข็ง ซอสต่างๆ
2. การควบคุมน้ำหนัก 3. การออกกำลังกายเป็นประจำ

Visitors: 74,669